บันทึกอนุทิน
วันพุธ ที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
วันนี้อาจารย์กระดาษ เอ4 คนละ 1 แผ่น และแจก ถุงมือคนละ 1 ข้าง ให้นำถุงมือสวมมือข้างที่ไม่ถนัด แล้วให้วาดมือที่อยู่ในถุงมือ โดยให้วาดให้เหมือนที่สุด ทั้งรอยย่น เส้นเลือด เล็บมือ เป็นต้น
ทำไมอาจารย์ให้วาดมือที่สวมถุงมือ เปรียบเหมือนเราบันทึกพฤติกรรมของเด็ก 1 คน เราอยู่กับเด็กตลอด อยู่กับเด็กทุกวัน ถ้าไม่บันทึกเด็กตลอด แต่มาบันทึกทีเดียวตอนท้ายเทอมครั้งเดียว ก็อาจจะไม่ตรงตามพฤติกรรมที่เด็กแสดง เทียบกับมือเราอยู่กับเรามา 20 กว่าปี เราก็ยังวาดไม่ค่อยเหมือน ถ้าเราไม่บันทึกเด็กพิเศษเป็นช่วงๆนั้น เราก็อาจจะลืม แล้วทำให้เวลาที่เราบันทึก อาจจะมโนคิดไปเอง เอาไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น ใส่ความรู้สึกของส่วนตัว เริ่มปรึกษาคนอื่นที่เขาเห็น การบันทึกพฤติกรรมเด็กพิเศษนั้นต้องบันทึกเป็นช่วงๆ สม่ำเสมอ และเป็นระบบ และต้องมีกระดาษโน๊ตอยู่กับตัวตลอดเวลา
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
- ต้องมองเด็กให้เป็นเด็ก ไม่มีการแบ่งแยกถึงจะเป็นเด็กพิเศษ
การผึกเพิ่มเติม
- อบรมระยะสั้น,สัมมนา
- สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
- ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- รู้จักเด็กแต่ละคน ต้องจำให้ได้ทั้งชื่อจริง นามสกุล และชื่อเล่น
- มองเด็กให้เป็น
“เด็ก”
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก
จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย ถ้าอยู่ในห้องเวลาที่ดูเด็กพิเศษอย่าหยุดชะงักที่เด็กพิเศษเกินไป ดูเด็กปกติด้วย
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ เด็กแต่ละมีวุฒิภาวะเหมือนกัน
- แรงจูงใจ เด็กแต่ละคนมีแรงจูงใจแตกต่างกัน
- โอกาส เด็กแต่ละคนมีโอกาศเท่ากัน ห้องเรียนรวมที่ดี ต้องมีขีดจำกัดน้อย เด้กจะมีโอกาสเยอะ
การสอนโดยบังเอิญ
- ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
- เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
- ครูต้องมีความสนใจเด็ก
- ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
- ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
- ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
- ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
- ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
- มีลักษณะง่ายๆ สื่อในห้องเรียนรวมต้องไม่ต้องแบ่งแยกเพศเด็ก ต้องไม่มีวิธีเล่นที่ตายตัว เช่น บล็อก
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
- เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
- เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
- กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
- เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
- การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
- คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
ความหยืดหยุ่น
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
- การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก
และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวาจา
- การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
- พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
- สัมผัสทางกาย
- ให้ความช่วยเหลือ ,
ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
- ย่อยงาน
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน
กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้
หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท
เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทีละขั้น ไม่เร่งรัด
“ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น”
- ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ
หลายๆอย่างรวมกัน
- เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน
การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า
หรือย้อนมาจากข้างหลัง
เด็กตักซุป
- การจับช้อน
- การตัก
- การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
- การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
- การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
ความคงเส้นคงวา
- สอนอย่างไรต้นเทอม ต้องสอนอย่างนั้น จนถึงปลายเทอม
อาจารย์มีข้อสอบ Post test ให้นักศึกษาตอบ ด้วยช่วยกันตอบทั้งห้อง
หลังจากที่ตอบข้อสอบ Post test เสร็จอาจารย์ก็ทบทวนเพลง ฝึกกายบริหาร และร้องเพลงที่เหลืออีก 4 เพลง ดังนี้
ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี
ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี
ประเมินตนเอง วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วาดรูปยังไม่ค่อยเหมือนมากนัก เพราะจำไม่ค่อยได้ แต่ก็พยายามวาดให้ดีที่สุด วันนี้ตั้งใจเรียน และฟังอาจารย์บรรยาย แต่ก็ยังคุยกับเพื่อนข้างๆเป็นบางครั้ง จดบันทึกในส่วนที่อาจารย์เพิ่มเติมให้ เรียนสนุกมากๆ ไม่เครียด พยายามร้องเพลงให้ถูกจังหวะ
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วันนี้มีเพื่อนนอกเวลามาเรียนด้วย มีเพื่อนที่มาสายบางเป็นบางคน และที่ไม่มาเรียนก็เป็นบางส่วน เพื่อนตั้งใจวาดรูปมือของตนเองมากๆ เพื่อนๆตั้งใจเรียนกัน แต่ก็มีบางช่วงที่คุยกันเสียงดัง และร้องเพลงกันอย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตรงเวลา อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำทุกๆอาทิตย์ อาจารย์สอนสนุกและเข้าใจ มีการยกตัวอย่างและเล่าประสบการณ์ที่ได้เจอมาและแสดงท่าทางประกอบให้นักศึกษาดู ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจารย์ร้องเพลงเพราะมากๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น